ภูเก็ตเดินหน้า Smart City ร่วมมือ USTDA ยกระดับแพลตฟอร์มจัดการฐานข้อมูลเมือง
ภูเก็ตเดินหน้า เมืองอัจฉริยะ ร่วมมือ USTDA ยกระดับแพลตฟอร์มจัดการฐานข้อมูลเมือง การใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูล เพื่อบริหารท้องถิ่น ผลักดันแนวคิด เมืองอัจฉริยะ
แนวคิด ‘เมืองอัจฉริยะ’ หรือ Smart City เป็นแนวคิดที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี IoT (Internet of Thing) ซึ่งเป็นการนำเอาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาผนวกรวมเข้ากับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยในประเทศไทย แนวคิดนี้เริ่มถูกขับเคลื่อนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 แต่เพิ่งจะได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมหลังการประกาศยุทธศาสตร์ 20 ปีของประเทศ โดยมีการตั้งเป้าไว้ว่าประเทศไทยจะไปถึงในปี พ.ศ. 2580
แนวคิดในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่ได้จำกัดแค่เพียง การนำเอาเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น แต่ยังเป็นการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ เพื่อพัฒนาเมืองให้มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งด้านที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การคมนาคม พลังงาน รวมไปถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม
สำหรับแนวคิดการพัฒนาเมืองในอัจฉริยะในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ครอบคลุมมิติต่าง ๆ ดังนี้
- สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในเมือง ด้วยการนำเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ ๆ เข้ามาจัดการ และติดตามเฝ้าระวังภัย รวมถึงช่วยสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม อาทิ ระบบการจัดการน้ำ ระบบการดูแลสภาพอากาศ รวมไปถึงการเฝ้าระวังภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่
- การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) แนวคิดในการพัฒนาระบบคมนาคมในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ทั้งในด้านการดำรงชีวิต สุขภาพ รวมไปถึงความปลอดภัย ด้วยการนำเอาเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างโอกาสให้คนในสังคมได้เรียนรู้ และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงส่งเสริมให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความหลากหลาย
- พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้น และสนับสนุนการใช้พลังงานของเมืองให้คุ้มค่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้สังคม
- เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เป็นแนวคิดในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
- การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) แนวคิดด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานของภาครัฐให้มีความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้
โดยนับตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน มีโครงการ Smart City ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น Smart City และรับมอบตราสัญลักษณ์ Smart City Thailand แล้ว 36 แห่ง ได้แก่
กรุงเทพมหานคร 4 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนาสามย่านสมาร์ทซิตี้
- โครงการแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะผ่านพระราม 4
- โครงการแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม
- โครงการแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะมักกะสันเพื่อสนับสนุนบริการรถไพ่ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
สมุทรปราการ 1 โครงการ
- โครงการสมุทรปราการสมาร์ทชิตี้
ฉะเชิงเทรา 2 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนาฉะเชิงเทรา เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน, ฉะเชิงเทรา
- โครงการเทพราชเมืองอัจฉริยะ เทศบาลตำบลเทพราช
นครราชสีมา 1 โครงการ
- โครงการโคราชเมืองอัจฉริยะ (Korat Smart City)
ขอนแก่น 1 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนาขอนแก่นเมืองอัจฉริยะ
อุบลราชธานี 1 โครงการ
- โครงการสมาร์ทซิตี้อุบลราชธานี
ชลบุรี 2 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนาแสนสุขสมาร์ทชิตี้ เทศบาลเมืองแสนสุข, ชลบุรี
- โครงการเขาคันทรงโมเดล เมืองแห่งความสุขที่พึงประสงค์และสังคมแห่งการแบ่งปันองค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา
ระยอง 3 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์
- โครงการนครระยอง : เมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ เทศบาลนครระยอง
- โครงการนิคมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เทศบาลตำบลนิคมพัฒนา
นครสวรรค์ 1 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนานครสวรรค์สมาร์ทชิตี้, นครสวรรค์
พิษณุโลก 2 โครงการ
- โครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดพิษณุโลก
- โครงการพิษณุโลกนครอัจฉริยะอย่างยั่งยืน เทศบาลนครพิษณุโลก
น่าน 1 โครงการ
- โครงการเมืองน่านสู่เมืองอัจฉริยะ เทศบาลเมืองน่าน
ลำปาง 2 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนาแม่เมาะเมืองน่าอยู่
- โครงการลำปางเมืองอัจฉริยะ
เชียงใหม่ 3 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนาการพัฒนาเมืองเก่าอย่างชาญฉลาด เทศบาลนครเชียงใหม่
- โครงการแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ ความเป็นเลิศที่ยั่งยืนสู่ชุมชน
- โครงการเมืองไตยองบวกค้างสมาร์ตชิตี้ เทศบาลตำบลบวกค้าง
เชียงราย 1 โครงการ
- โครงการนครเชียงรายสู่เมืองอัจฉริยะ เทศบาลนครเชียงราย
ตรัง 1 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนาเมืองศรีตรัง (Sri-Trang City), ตรัง
ภูเก็ต 1 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนาภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ
กระบี่ 1 โครงการ
- โครงการกระบี่เมืองอัจฉริยะ
พังงา 1 โครงการ
- โครงการจังหวัดพังงาสู่เมืองอัจฉริยะ
สตูล 1 โครงการ
- โครงการสตูลสมาร์ทชิตี้
สุราษฎร์ธานี 1 โครงการ
- โครงการพัฒนาเทศบาลนครเกาะสมุย สู่เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน เทศบาลนครเกาะสมุย
นครศรีธรรมราช 1 โครงการ
- โครงการเทศบาลนครนครศรีธรรมราชเมืองอัจฉริยะ เทศบาลนครศรีธรรมราช
สงขลา 1 โครงการ
- โครงการหาดใหญ่เมืองอัจฉริยะสีเขียว เทศบาลนครหาดใหญ่
ปัตตานี 1 โครงการ
- โครงการปัตตานีเมืองอัจฉริยะ เทศบาลเมืองปัตตานี
ยะลา 1 โครงการ
- โครงการแผนพัฒนายะลาเมืองอัจฉริยะเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน เทศบาลนครยะลา
นราธิวาส 1 โครงการ
- โครงการเมืองสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์นราธิวาส เทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
และหากจะเอ่ยถึงเมืองที่ยังคงเดินหน้าแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีวิสัยทัศน์ผลักดันให้เป็น “เมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ก็เห็นจะเป็น “จังหวัดภูเก็ต” เจ้าของฉายาไข่มุกแห่งอันดามัน หนึ่งในจังหวัดที่มีความหมายต่อ GDP ไทยอย่างมาก เนื่องด้วยเป็นตลาดท่องเที่ยวระดับบน มีความเป็นเมดิคัลฮับ ที่ดึงดูดชาวต่างชาติวัยเกษียณ และนักท่องเที่ยวที่มีกำลังการใช้จ่ายต่อหัวสูง ให้เข้ามาปักหลักอยู่อาศัยได้ในระยะยาว จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้ สร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวไทยมหาศาล จึงไม่แปลกที่จะเป็นหนึ่งในสองจังหวัดนำร่อง ที่ ‘นายกเศรษฐา’ ตั้งเป้าเดินหน้าพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก
แต่กว่าจะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในระดับนานาชาติได้นั้นก็ไม่ง่าย ที่ผ่านมาเราจึงเห็นความร่วมมือทั้งจากจังหวัดและภาคเอกชน นำเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลมาบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา เพื่อผลักดันให้ภูเก็ตก้าวสู่การเป็น Smart City อย่างเต็มรูปแบบ เห็นได้จากบทความ ‘เดินหน้าเมืองอัจฉริยะ Phuket Smart City’ โดย สว.พลเดช ปิ่นประทีป ที่มีการกล่าวถึง แผนงานการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลเมืองในการบริหารท้องถิ่น (City Data Platform หรือ CDP) ที่สามารถเชื่อมต่อรวมข้อมูลจากสมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันทั้งหมดไว้ด้วยกัน เพื่อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ของเมือง อันจะนำมาสู่การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยนำเอานวัตกรรมด้านความปลอดภัยสาธารณะ อาทิ ระบบ CCTV ตรวจจับใบหน้าและวัดอุณหภูมิ หรือระบบ Wristbands ติดตามตัวบุคคล มาช่วยเสริมประสิทธิภาพ ตามแผนการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ขณะที่ด้านไซเบอร์ ภูเก็ตยังมีแผนพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และระบบป้องกันความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ผู้คนในทุกระดับสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย โดยมุ่งพัฒนาความรู้ความสามารถ และสร้างการตระหนักรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างมาตรฐานและมาตรการด้านความปลอดภัยที่ทั่วถึงและครอบคลุม
จากแผนการพัฒนาดังกล่าว ล่าสุดจังหวัดภูเก็ตจึงได้ลงนามความร่วมมือกับองค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (USTDA) ยกระดับแพลตฟอร์มจัดการฐานข้อมูลเมืองให้สามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงเพื่อเพิ่มศักยภาพศูนย์บัญชาการข้อมูล (Command Center) และโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ที่สำคัญของภูเก็ต อันรวมไปถึงระบบควบคุมการจราจร การแจ้งเหตุฉุกเฉิน โครงข่าย Fiber Optic และการเพิ่มมาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
นอกจากจังหวัดภูเก็ต ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อยื่นข้อเสนอแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยจากสถิติของสำนักงานเมืองอัจฉริยะเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 พบว่า มีการยื่นข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 144 ข้อเสนอ แบ่งเป็นจังหวัดเดิมที่มีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองแล้ว 12 จังหวัด และพื้นที่ใหม่ 28 จังหวัด ซึ่งก็คงต้องจับตามองกันว่าอีกหลายจังหวัดที่ยังไม่ได้ยื่นข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะมีแผนในการนำพาพื้นที่ของตนไปสู่การเมืองอัจฉริยะอย่างไร
Security Pitch ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความปลอดภัย เราพร้อมเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยผลักดันแนวคิด Converged Security เพื่อให้แผนยุทธศาตร์ Smart City นำพาประเทศก้าวสู่ยุค Thailand 5.0 ได้อย่างแท้จริง
ขอบคุณข้อมูลจาก
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”
Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]