4 วิธี องค์กรรับมือภัยไซเบอร์ ปี 2024

ในยุคที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์กลายเป็นภัยใกล้ตัวที่ยากจะคาดเดา นอกจากประชาชนทั่วไป ภาคธุรกิจเองก็น่าห่วงโดยเฉพาะสถาบันทางการเงิน ระบบสาธารณูปโภค และเครือข่ายสารสนเทศ ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก 

การโจมตีทางไซเบอร์รุนแรงขึ้นนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด ที่รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป เน้นการทำงานระยะไกลและการทำงานแบบ Hybrid ซึ่งกลายเป็นช่องโหว่ที่แฮ็กเกอร์มองว่าการโจมตีในช่วงเวลาแบบนี้จะดีที่สุด

โดยรูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็น Ransomware, DDoS, การโจมตีผ่านช่องโหว่ของระบบ หรืออุปกรณ์ IT ที่เชื่อมโยงกับระบบ ได้สร้างความกังวลให้กับองค์กรภาคเอกชน และภาครัฐ ทั้งนี้การรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว มี 4 วิธีด้วยกัน 

1.องค์กรจะต้องเดินมาตรการเชิงรุก

เมื่อเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์กับองค์กรของคุณ การกำหนดมาตรการเชิงรุกด้านความปลอดภัย เป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งควรทำมากกว่าแค่การจ้างบุคลากร หรือซื้ออุปกรณ์ IT ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา

ก่อนที่จะเริ่มดำเนินมาตรการเชิงรุกด้านความปลอดภัย สิ่งสำคัญที่ควรทำคือ การศึกษาและลงมือพัฒนาระบบความปลอดภัยให้เป็นมาตรฐาน เช่น ISO เป็นต้น พร้อมกันนี้จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ยากจะคาดเดา

ตัวอย่างเช่น รัฐบาลและภาคธุรกิจในสหรัฐฯ ดำเนินมาตรการความปลอดภัยตามสโลแกนของ National Institute of Standards and Technology’s (NIST) คือ ระบุ, ป้องกัน, ตรวจจับ, ตอบสนอง และ กู้คืน 

2.ทดสอบโปรแกรมซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันเสมอ

การทดสอบโค้ดซอฟต์แวร์เป็นส่วนสำคัญของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่ปฏิบัติตามกระบวนการทดสอบผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย อาจมีข้อบกพร่องที่ทำให้ธุรกิจหรือองค์กรตกอยู่ในอันตราย 

ขั้นตอนสำคัญของการประเมิน คือ การทดสอบความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน เพื่อค้นหาช่องโหว่ของโค้ด มัลแวร์ หรือการตั้งค่าที่ผิดพลาด การระบุจุดอ่อนที่รู้จักและไม่รู้จักในโค้ด เป็นก้าวแรกของการป้องกันภัยไซเบอร์ในโลกดิจิทัล

ก่อนจะใช้ชุดโค้ดโปรแกรมใหม่ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์จากภายนอก ควรผ่านการตรวจสอบ และประเมินอย่างละเอียด

การกำหนดมาตรฐานช่วยให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุด และค้นพบข้อผิดพลาดได้ การทดสอบการเจาะระบบ (Penetration Testing) และการสแกนหาช่องโหว่ (Visibility Scanning) ช่วยตรวจสอบ และหาจุดอ่อนของโค้ดซอฟต์แวร์ คาดการณ์ปัญหาก่อนที่จะส่งผลเสียหายต่ออุปกรณ์และเครือข่าย

3. ต้องมีแผนบริหารความเสี่ยง ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ 

แม้จะมีระบบป้องกันที่แน่นหนา แต่การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นการมีแผนที่ยืดหยุ่นจึงเป็นหัวใจสำคัญในการเสริมเกราะความปลอดภัยของธุรกิจภาคเอกชน และภาครัฐควรมีแผนรับมือ อย่างครอบคลุม ตั้งแต่การจำกัดผลกระทบ การวางแผนด้านความปลอดภัยต่อเนื่อง  และต้องมีกระบวนการสำรองข้อมูลอย่างปลอดภัย หากเครือข่ายและอุปกรณ์ถูกโจมตี นอกจากนี้การฝึกซ้อมตามสถานการณ์จริงจะช่วยให้ใช้แผนรับมือเหตุการณ์ได้อย่างราบรื่น

4. เตรียมความพร้อมรับมือสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

การปรับองค์กรให้ทันสมัย นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ เช่น AI, Quantum Computing, Internet of Things (IoT) และ เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR,VR) เข้ามาใช้ แต่ก็ต้องดูว่าองค์กรสามารถรับมือไหวหรือไม่ เมื่อต้องมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ 

การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ยกตัวอย่างเช่น การนำ AI มาหาช่องโหว่ของระบบซอฟต์แวร์ และ แอปพลิเคชัน หรือนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นไปได้ 

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นเครื่องมือของอาชญากรไซเบอร์เช่นกัน ฉะนั้นการปรับตัว รับมือกับสิ่งใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”

Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]

บทความที่น่าสนใจ