เปิดเคสข้อมูลรั่วไหล ผ่านเว็บโหราศาสตร์ต่างประเทศ

ธุรกิจสายมู ถือเป็นธุรกิจมาแรงในปี 2567 ที้มีการจดทะเบียนธุรกิจมูลค่าสูงถึง 135.89 ล้านบาท มีเว็บไซต์ และบริการเกิดใหม่มากมายนับไม่ถ้วน โดยใครจะคาดคิดว่าธุรกิจสายมูก็เสี่ยงเกิดข้อมูลรั่วไหลได้เช่นกัน

ย้อนไปเมื่อปลายปีที่แล้วเกิดเหตุการณ์ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ผ่านเว็บไซต์โหราศาสตร์ชื่อดังในต่างประเทศ อย่าง WeMystic 

ข้อมูลลูกค้ารั่วไหล 13 ล้านราย

WeMystic ให้บริการโหราศาสตร์ ความเป็นอยู่ทางจิตวิญญาณ และศาสตร์ลึกลับแก่ผู้ใช้ ควบคู่ไปกับร้านค้าออนไลน์ที่ขาย ไพ่ทาโรต์ กำไลสายมู และผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยแพลตฟอร์มนี้ให้บริการผู้ใช้ภาษาบราซิล สเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษเป็นหลัก

ทั้งนี้เมื่อประมาณปลายปีที่แล้ว เว็บไซต์ก็ทำข้อมูลของลูกค้าหลุด จำนวน 13.3 ล้านราย รายงานระบุว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากโครงสร้างพื้นฐานของระบบที่ใช้ MongoDB โดยทีมวิจัยด้านไซเบอร์ค้นพบว่ามีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน และเข้าถึงได้แบบไม่ต้องเข้ารหัสผ่าน โดยข้อมูลมีความจุถึง 34GB  ประกอบด้วย

  • ชื่อ
  • อีเมล
  • วันเกิด
  • ที่อยู่ IP
  • เพศ
  • ราศี
  • ข้อมูลระบบของผู้ใช้

แม้ว่าจะมีการแก้ไขปัญหานี้แล้ว แต่ข้อมูลบนระบบยังสามารถเข้าถึงได้เป็นเวลา 5 วัน ยิ่งกระทบความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล

หรือจะเป็นเราเอง ที่เปิดเผยข้อมูลให้มิจฉาชีพ

อย่างไรก็ตามหากไม่นับเรื่องเทคโนโลยี เราเองในฐานะเจ้าของข้อมูลก็สามารถโดนล้วงข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะจากทางออนไลน์หรือออฟไลน์ ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือการเปิดเผยข้อมูลด้วยตัวเองโดยไม่ตั้งใจ ผ่านการดูดวงกับบอกกับหมอดู

“ถามข้อมูลส่วนตัว” เพราะส่วนหนึ่งของการทำนาย คือต้องมีข้อมูล จึงไม่แปลกที่บางครั้งจะต้องแจ้ง ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด วันเวลาตกฟาก หรือ ถามถึงหน้าที่การงาน การเงิน บางรายอาจถึงขั้นขอดูบัตรประชาชนเพื่อการทำนายจากเลขบัตร 

ทุก เว็บ-แอปฯ ที่ให้บริการ ไม่ควรมองข้ามข้อมูลส่วนบุคคล

เราจะทราบกันดีว่าปัจจุบันรูปแบบการดูดวง ดูฤกษ์ โหราศาสตร์ต่างๆ ไม่ได้มีแค่การดูกับหมอดูตัวต่อตัว แต่ยังมีการดูผ่านออนไลน์ ตามเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ที่จะมีการลงทะเบียนสร้างบัญชี และกรอกข้อมูลส่วนบุคคลลงไปโดยฟอร์มการลงทะเบียนส่วนใหญ่ ยังไม่ได้มีการประกาศให้ทราบถึงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือยังไม่มีการขอความยินยอมใดๆ นำมาซึ่งความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนบุคคลของเราจะถูกนำไปใช้เกินวัตถุประสงค์โดยไม่ได้รับอนุญาต 

ฉะนั้นจะดีกว่าไหมหากเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของคุณจะทำให้ถูกต้อง

Security Pitch เราจึงขอเสนอ เครื่องมือช่วยเก็บรวบรวมความยินยอมจากทุกช่องทาง ภายใต้แพลตฟอร์ม OneFence โซลูชัน Privacy Management ที่จะช่วยให้คุณบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลได้สอดคล้องตามกฎหมาย PDPA 

ด้วย โมดูล Consent Management 

  • ช่วยให้คุณสร้างเว็บฟอร์มสำหรับขอความยินยอมได้โดยง่าย 
  • ช่วยเก็บบันทึก รวบรวมความยินยอมจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะแบบออฟไลน์หรือออนไลน์
  • แจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีการถอนความยินยอม
  • สามารถรับสคริปต์ไปใช้งานได้หลากหลายช่องทาง เช่น web link, API, SDK, webhook, file transfer, paper upload
  • ดูประวัติความยินยอมย้อนหลัง

และเพื่อช่วยให้คุณสร้างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างครบถ้วน เรายังมีโมดูล Policy & Notice Management 

  • สร้างนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ผ่านเทมเพลตที่มีครอบคลุมเนื้อหาตามแนวทางการปฏิบัติของกฎหมาย ที่ออกโดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)
  • มี Wizard ช่วยในการสร้างรูปแบบชุดคำถามสำหรับสร้างนโยบาย หรือประกาศ 
  • ปรับแต่งข้อความในเทมเพลตได้ตามต้องการ
  • อัปเดตนโยบายผ่านระบบดิจิทัล
  • กำหนดชื่อนโยบาย บริษัท หน่วยงาน ระบบงาน หรือ บริการที่เกี่ยวข้องของแผนก/ฝ่ายที่จัดทำนโยบาย
  • รองรับการแสดงผลภาพรวมการยอมรับประกาศฯ  ผ่านหน้าจอ Dashboard 
  • รองรับการจัดหมวดหมู่ และจำแนกนโยบาย หรือ ประกาศฯ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา
  • รองรับการทำงานร่วมกันกับโมดูลอื่นๆ ในแพลตฟอร์ม 

ที่มา : Bitdefender, Cybernews

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”

Tel. : 061-462-6414, 02-103-6462
Line : @securitypitch
Email : [email protected]

บทความที่น่าสนใจ