มิจฉาชีพใช้ Gamification เจาะกลุ่มคนหางาน
คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหรัฐฯ (FTC) เผยข้อมูล พบข้อร้องเรียนของผู้ใช้งานเกี่ยวกับการหลอกลวงงานออนไลน์ที่ออกแบบให้เหมือนกับเกม หรือที่เรียกว่า “Task Scams” กำลังพุ่งสูงขึ้น โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 0 ในปี 2020 มาเป็น 5,000 คดี ในปี 2023
ทั้งนี้การหลอกลวงในรูปแบบ Task Scams มีที่มาจากแนวคิด Gamification ที่กำลังได้รับความนิยมในองค์กร Startup รุ่นใหม่นั่นเอง
Gamification คืออะไร
Gamification คือแนวคิดในการใช้เทคนิคในรูปแบบของเกมแต่ไม้ได้ใช้ตัวเกม เช่น เว็บไซต์ ชุมชนออนไลน์ ระบบจัดการการเรียนรู้เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค พนักงาน และพันธมิตร เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการทำงานร่วมกัน แบ่งปันและโต้ตอบกัน
Gamification มีองค์ประกอบสำคัญ 7 ข้อ คือ
- เป้าหมาย (Goals) : เกมทุกเกมมีเป้าหมาย เช่น การเอาชนะ แก้ปริศนา หรือผ่านเกณฑ์ที่กำหนด อาจแบ่งเป็นเป้าหมายเล็กและใหญ่ เพื่อความต่อเนื่องในการเล่น
- กฎ (Rules) : เกมต้องมีกฎ กติกา และเงื่อนไขที่ชัดเจน เพื่อกำหนดแนวทางการเล่นและการให้คะแนน
- ความขัดแย้ง การแข่งขัน หรือความร่วมมือ (Conflict, Competition, Cooperation) : เกมอาจเน้นเอาชนะฝ่ายตรงข้าม (ขัดแย้ง/แข่งขัน) หรือร่วมมือกันเป็นทีมเพื่อบรรลุเป้าหมาย
- เวลา (Time) : ตัวกำหนดเวลาสร้างแรงกดดันและสอนการบริหารเวลา ซึ่งสำคัญต่อความสำเร็จ
- รางวัล (Reward) : สิ่งจูงใจ เช่น คะแนน หรือ Leader Board ที่สร้างแรงผลักดันให้ผู้เล่นแข่งขัน
- ผลป้อนกลับ (Feedback) : การตอบสนองที่ช่วยให้ผู้เล่นปรับปรุงการกระทำเพื่อบรรลุเป้าหมาย
- ระดับ (Levels) : ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละระดับ กระตุ้นการพัฒนาทักษะและประสบการณ์
มิจฉาชีพนำไปปรับใช้
กรณีศึกษานี้เกิดขึ้นที่สหรัฐฯ โดยผลสำรวจในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 พบจำนวนการรายงานการหลอกลวงในลักษณะ “Task Scams” เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า รวมเป็น 20,000 คดี จาก 5,000 คดี ในปี 2023
หน่วยงาน FTC ออกมาเตือนว่า อาชญากรมักจะเริ่มต้นเข้าหาเป้าหมายผ่านการส่งข้อความ หรือ WhatsApp พร้อมกับเสนอการทำงานออนไลน์ หากเป้าหมายแสดงความสนใจ คนร้ายจะบอกว่างานนั้นเกี่ยวข้องกับการทำงานที่เกี่ยวกับการปรับปรุงแอป การเพิ่มยอดขายสินค้า หรือการทำงานที่น่าเบื่อหน่ายอื่น ๆ
เมื่อเริ่มทำงานออนไลน์ ผู้เสียหายจะได้รับเงินจำนวนเล็กน้อยเป็นค่าตอบแทน หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะเผยจุดประสงค์ที่แท้จริงด้วยการขอให้ผู้เสียหายลงทุนในระบบเพื่อทำงาน โดยทำให้ดูเหมือนได้ผลตอบแทนสูงกว่า หากเหยื่อตกลง มิจฉาชีพ หรือ อาชญากรทางไซเบอร์จะฉวยโอกาสนำเงินไปและหายตัวไปทันที
หน่วยงาน FTC ยังย้ำเตือนว่า หากงานมีกระบวนการและวิธีการที่ดูเหมือนเกมรูปแบบออนไลน์มากกว่างานจริง ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นการหลอกลวงในรูปแบบ Task Scam
ย้อนมาดูสถานการณ์ในประเทศไทย จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง เคยพบเจอการเชิญชวนไปทำงาน ในรูปแบบที่คล้ายกัน โดยส่วนมากจะเป็นการแอดเฟรนล์บน Facebook (Meta) หรือ Instagram โดยจะทักมาบอกว่า หากสนใจงานดู Youtube, งานแอดมิน และอื่นๆ ก่อนทำจะต้องโอนเงินไปก่อนเป็นค่าสมัครงาน ซึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดหากคุณกำลังโดนมิจฉาชีพหลอกด้วยวิธีการนี้ คือ “บล็อกและกดรายงานบัญชีเหล่านั้น” และจงระวัง! หากคุณตอบตกลง ก็เท่ากับว่า คุณกำลังเข้าไปอยู่ในเกมของมิจฉาชีพแล้ว
ที่มา : Techspot
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”
Tel. : 061-462-6414, 02-103-6462
Line : @securitypitch
Email : [email protected]
บทความที่น่าสนใจ