ผู้ประกอบการต้องรู้! สรุปแนวโน้ม แผนแม่บทการส่งเสริมและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2567-2570
สคส. หรือ PDPC Thailand เร่งดำเนินการเข้มข้นตามกฎหมายหมาย PDPA ล่าสุดออกแผนแม่บทการส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ พ.ศ. 2567 – 2570 ซึ่งมีการระบุถึงแผนยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อน พร้อมแนวโน้มที่ประเทศไทยจะไปถึง
และหากพูดถึงสถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทย การประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 มีหลักสำคัญที่มีแนวทางคล้ายกับ GDPR ของยุโรป กระบวนการจัดทำแม่บทนี้จึงมีการศึกษาและวิเคราะห์ตามหลัก SWOT Analysis และ TOWs Matrix ดังนี้
1. จุดแข็ง ( Strength )
- ประเทศไทยมี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่ครอบคลุมทุกมาตรา
- ในภาครัฐและเอกชน มีแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ถูกบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ
- คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง และแนวทางการดำเนินการที่บังคับใช้หรือเผยแพร่แล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับองค์กรต่าง ๆ แล้ว 13 ฉบับ
- นโยบายภาครัฐส่งเสริมภาคธุรกิจ SME, Startup และกลุ่มเทคโนโลยี
2. จุดอ่อน ( Weekness)
- ประชาชนขาดการตระหนักรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน IT หรือเทคโนโลยี ขาดงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขาดการแบ่งปันข้อมูลอย่างเหมาะสมของภาครัฐและเอกชน
- ขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
- กำลังคนด้าน IT และเทคโนโลยียังไม่เพียงพอ ขาดทรัพยากรในการนำ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในธุรกิจขนาดกลาง
3. โอกาส (Opportunity)
- การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านข้อมูลส่วนบุคคลของต่างประเทศ
- ต้องมีกรอบความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น APEC, ASEAN,OECD, ITU
- สหภาพยุโรปมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และแนวปฏิบัติที่ดีกับหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ
- ประเทศไทยสามารถนำข้อมูล กรณีศึกษาจากต่างประเทศมาทำการเปรียบเทียบหรือศึกษาได้
- ทั่วโลกมีการปรับวิถีการดำเนินชีวิต (New Normal) หลังจากมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแพร่หลาย
4. อุปสรรค (Threat)
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลในโลกออนไลน์ได้ง่าย
- ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threat) ที่หลากหลายก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใช้บริการ เช่น การเข้าถึงระบบสารสนเทศโดยที่เจ้าของไม่ทราบ การฝัง Code ที่เป็นภัยต่อการทำธุรกรรมออนไลน์ การส่ง SMS หลอกลวง เป็นต้น
- เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันเพิ่มความเสี่ยงให้กับองค์กรต้องปรับตัวให้ทันสถานการณ์ และรูปแบบของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป (Business Model Disruption)
โดยในการพัฒนามีกลยุทธ์ที่สำคัญ ดังนี้
- ต้องมีการพัฒนาระบบ PDPA Life Long Learning พัฒนาระบบบริการประชาชนด้านข้อมูลส่วนบุคคลให้กลายเป็นต้นแบบ Smart/ Digital Service Office
- การสนับสนุนในเรื่อง IT พัฒนาตั้งแต่เยาวชนไปจนถึงระดับองค์กร และจะต้องมีการพัฒนาระบบที่เป็นศูนย์กลางระหว่างรัฐและประชาชน
- สร้างกลไกการวิจัยให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม
- พัฒนาแนวทางเรื่อง Data Privacy, Personal Data Protection และ Trusted Data ที่เป็นดั่งพื้นฐาน ให้ออกมาเป็นแนวปฏิบัติ
และนี่ก็คือแนวโน้มตามแผนแม่บทการส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ พ.ศ. 2567 – 2570 ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ภาคธุรกิจและเอกชนจะต้องร่วมมือกันผลักดัน และออกแนวทางปฏิบัติอย่างครอบคลุม
หากต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านต่อได้ที่ : แผนแม่บทการส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ พ.ศ. 2567 – 2570
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”
Tel. : 061-462-6414, 02-103-6462
Line : @securitypitch
Email : [email protected]
บทความที่น่าสนใจ