เมื่อ Quantum Computing กำลังเปลี่ยนแปลงวงการ Cybersecurity

เทคโนโลยี Quantum Computing ระบบการประมวลผลด้วยเทคโนโลยีควอนตัม สามารถประมวลผลได้แบบมหาศาลในระยะเวลาอันรวดเร็ว มีหน่วยการคำนวณแบบ Qubit ทั้งแบบ 0 หรือ 1 กับแบบ Superposition ได้เป็น 0 และ 1 ในเวลาเดียวกัน และด้วยศักยภาพ เทคโนโลยีนี้จึงกลายเป็นความหวังใหม่ของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

แล้วถ้าหากเทคโนโลยี Quantum Computing ถูกนำไปประยุกต์ในด้าน Cybersecurity มันจะมีภาพออกมาเป็นอย่างไร?

ว่ากันด้วยเรื่องการนำ Quantum Computing มาประยุกต์ใช้ คงต้องย้อนกลับไปเดือนพฤษภาคม ปี 2022 ประธานาธิบดี โจไบเดน ได้อนุมัติบันทึกความจำด้านความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมุ่งเน้นให้รัฐบาลมีการเตรียมรับมือกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจากคอมพิวเตอร์ควอนตัม

ในเดือนมิถุนายน สภาผู้แทนราษฎร สหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมาย “Quantum Computing Cybersecurity Preparedness Act” เพื่อกำหนดให้หน่วยงานของรัฐบาล ทำการย้ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้การเข้ารหัสแบบ Post-Quantum แม้จะต้องรอวุฒิสภาสหรัฐฯ อนุมัติ 

ในเดือนกรกฎาคม ปี 2022  the National Institutes of Standards and Technology (NIST) ได้เปิดเผยชุดอัลกอริทึ่มเพื่อใช้พิสูจน์ควอนตัมชุดแรกจำนวน 4 ชุด หลังจากนั้นไม่นาน การเข้ารหัส Public-key ชื่อ CRYSTALS-Kyber และระบบที่ NIST แนะนำ ได้ถูกทำลายโดยการใช้ AI โจมตีแบบ Side Channel Attacks หรือ การโจมตีที่ผู้โจมตีเก็บและใช้ข้อมูลจากการทำงานของระบบ ซึ่งแตกต่างกับการโจมตีแบบทั่วไปที่ผู้โจมตีจำเป็นจะต้องพบจุดอ่อนหรือช่องโหว่ก่อน 

การนำเทคโนโลยี Quantum Computing มาใช้ในงานด้าน Cybersecurity เริ่มเกิดขึ้นนับแต่นั้นมาโดยส่วนใหญ่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร 

Evolution Q บริษัทด้าน Quantum-Security ร่วมมือกับธนาคารในประเทศแคนาดา ศึกษาระบบเงินดิจิทัลแคนาดาที่รองรับด้วยระบบประมวล Quantum Computing สำหรับรักษาความปลอดภัยในอนาคต 

แม้เทคโนโลยี Quantum Computing จะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน แต่เทคโนโลยีนี้ยังคงเป็นดาบสองคมอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะช่วยเสริมความแกร่งให้กับระบบรักษาความปลอดภัยแล้ว ก็ยังสามารถก่อความเสียหายได้มากกว่าที่คิดเช่นกัน 

ด้วยการประมวลผลของเทคโนโลยี Quantum Computing อาจเพิ่มโอกาสการโจมตีในรูปแบบ Brute Force Attack หรือการโจมตีในรูปแบบ การเดารหัสผ่านทุกความเป็นไปได้ของตัวอักษร ในแต่ละหลัก ยกตัวอย่างเช่น รหัส ATM ที่เราใช้งานอยู่ โดยทั่วไปจะมีอยู่ทั้งหมด 4 หลัก และมีความเป็นไปได้ทั้งหมด 10,000 วิธี โดยผู้โจมตีจะเริ่มใส่รหัสตั้งแต่ 0000 ถึง 9999 ทำให้จะได้รหัสที่ถูกต้องในที่สุด 

พวกเรา Security Pitch ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย เพื่อตอบโจทย์การทำงานของหน่วยงานทุกภาคส่วน เราจึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม OneFence และ OneForce ขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มดูแลความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ ครอบคลุมความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยทางกายภาพ และความปลอดภัยสาธารณะ

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”

Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]

บทความที่น่าสนใจ