Security Management Specialist อาชีพมาแรงที่ควรต้องมีในองค์กร
อาชีพและการงานถือเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ ในแต่ละปีมักจะมีผลสำรวจความต้องการในตลาดแรงงานจากบริษัทวิจัยการตลาด หรือกลุ่มองค์กรด้านการวิจัยต่าง ๆ ข้อมูลจาก World Economic Forum ล่าสุด ได้เผยถึงอันดับอาชีพที่กำลังจะกลายเป็นดาวเด่น เติบโตแบบก้าวกระโดดภายในปี 2030 พร้อมเผยอาชีพที่เป็นดาวดับ เพื่อเป็นแนวทางกลุ่มคนในอาชีพเหล่านี้อาจต้องเปลี่ยนสายงานเพื่อความอยู่รอด สรุปเป็น 15 อันดับ ดังต่อไปนี้
อาชีพที่เติบโตเร็ว เป็นดาวเด่นในอนาคต
- ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Specialists)
- วิศวกรด้านฟินเทค (FinTech Engineers)
- ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และ Machine Learning
- นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความปลอดภัย
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บข้อมูล (Data Warehousing)
- ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์อัตโนมัติ
- นักออกแบบ UI และ UX
- คนขับส่งของหรือบริการจัดส่ง
- ผู้เชี่ยวชาญด้าน Internet of Things (IoT)
- นักวิเคราะห์ข้อมูลและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
- วิศวกรสิ่งแวดล้อม
- นักวิเคราะห์ความปลอดภัยข้อมูล
- DevOps
- วิศวกรพลังงานหมุนเวียน
อาชีพที่กำลังเป็นดาวดับในอนาคต
- พนักงานไปรษณีย์
- พนักงานธนาคารและพนักงานคลังที่เกี่ยวข้อง
- พนักงานคีย์ข้อมูล
- พนักงานแคชเชียร์และขายตั๋ว
- ผู้ช่วยฝ่ายบริหารและเลขานุการผู้บริหาร
- คนงานในอุตสาหกรรมการพิมพ์และงานที่เกี่ยวข้อง
- งานด้านบัญชี การทำบัญชี และการจัดการเงินเดือน
- พนักงานจัดเก็บและบันทึกข้อมูลวัสดุ
- พนักงานขนส่งและพนักงานประจำรถไฟ
- พนักงานขายสินค้าแบบเดินตามบ้านและพนักงานขายข่าว
- นักออกแบบกราฟิก
- ผู้ตรวจสอบเคลมและผู้ประเมินความเสียหาย
- เจ้าหน้าที่ทางกฎหมาย
- เลขานุการกฎหมาย
- พนักงานขายทางโทรศัพท์
ด้านมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เผยถึง 10 ทักษะอนาคตที่ชาวไทยต้องมีในปีนี้ ได้แก่
- AI
- Analytical Thinking
- Creative Thinking
- Networks and Cybersecurity
- Leadership and Social Influence
- Resilience, Flexibility and Agility
- Empathy and Active Listening
- Motivation and Self-awareness
- Talent Management
- Curiosity and Lifelong Learning
เนื่องจากแนวโน้มทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของตำแหน่งงานด้านความ ปลอดภัย หนึ่งในนั้นคือตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัย (Security Management Specialists) ซึ่งอยู่ใน 5 อันดับแรกของตำแหน่งงานที่เติบโตเร็วที่สุด สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Fragmentation)
ขณะที่ตำแหน่งงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ เช่น นักวิเคราะห์ความปลอดภัยทางข้อมูล (Information Security Analysts) ก็อยู่ใน 15 อันดับแรกเช่นกัน โดยได้รับแรงผลักดันจากแนวโน้มทางเทคโนโลยี และเศรษฐกิจการเมือง
Security Management Specialist คืออะไร
ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย (Security Management Specialist) คือ ผู้ที่มีหน้าที่พัฒนากลยุทธ์ความมั่นคงปลอดภัย ปกป้องทรัพย์สินและข้อมูล วิเคราะห์ความเสี่ยง แก้ไขช่องโหว่ บังคับใช้นโยบาย ตรวจสอบและปรับปรุงมาตรการ สืบสวนเหตุการณ์ความมั่นคงปลอดภัย จัดการระบบเทคโนโลยีความปลอดภัย จัดอบรมพนักงาน ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก รวมถึงติดตามแนวโน้มใหม่ และดูแลเอกสารเกี่ยวกับเหตุการณ์และการปฏิบัติตามข้อกำหนด ทั้งนี้ทักษะความเชี่ยวชาญที่ตำแหน่ง Security Management Specialist ควรต้องมี ประกอบด้วย
เรียนรู้ก่อนเป็น Security Management Specialist
- Public Safety and Security:
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ นโยบาย ขั้นตอน และกลยุทธ์ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยระดับท้องถิ่น รัฐ หรือชาติ สำหรับการปกป้องผู้คน ข้อมูล ทรัพย์สิน และสถาบันต่าง ๆ - Computers and Electronics:
ความรู้เกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ รวมถึงการเขียนโปรแกรม - Customer and Personal Service:
หลักการให้บริการลูกค้า เช่น การประเมินความต้องการ มาตรฐานคุณภาพ และการวัดความพึงพอใจ - Engineering and Technology:
การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมไปใช้จริง เช่น การออกแบบและผลิตสินค้า - Administration and Management:
หลักการบริหารจัดการ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การจัดสรรทรัพยากร การบริหารทรัพยากรบุคคล และการประสานงาน - Design:
ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและเครื่องมือในการออกแบบ เช่น แผนทางเทคนิค แบบแปลน และโมเดล - Education and Training:
หลักการออกแบบหลักสูตร การสอนกลุ่มและบุคคล และการวัดผลการฝึกอบรม - Telecommunications:
ความรู้เกี่ยวกับระบบโทรคมนาคม เช่น การส่งสัญญาณ การออกอากาศ และการควบคุมระบบ - Building and Construction:
ความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ วิธีการ และเครื่องมือสำหรับการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง - Personnel and Human Resources:
หลักการจัดการทรัพยากรบุคคล เช่น การสรรหา การฝึกอบรม และการจัดการผลประโยชน์ - Law and Government:
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบราชการ ขั้นตอนศาล และกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ทักษะจำเป็นของ Security Management Specialist
- มีความรู้เกี่ยวกับระบบความปลอดภัย อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำเนินการ
- มีทักษะการสื่อสาร ทั้งทางวาจาและการเขียน
- มีความสามารถในการฝึกอบรม
- มีทักษะการจัดการองค์กรและความใส่ใจในรายละเอียด
หน้าที่ของ Security Management Specialist
- ออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบรักษาความั่นคงปลอดภัย และระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบ PLC และระบบอิเล็กทรอนิกส์
- วิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินช่องโหว่ เพื่อพัฒนามาตรการตอบโต้ภัยคุกคาม
- แนะนำการปรับปรุงในระบบหรือขั้นตอนด้านความปลอดภัย
- พัฒนานโยบาย โปรแกรม และแนวทางด้านความปลอดภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
- ออกแบบและกำหนดข้อกำหนดสำหรับระบบความปลอดภัย เช่น ระบบกล้องวงจรปิดและระบบตรวจจับการบุกรุก
- หากมีการต่อเติมหรือมีงานที่เกี่ยวข้องกับการรับเหมาก่อสร้าง ตำแหน่งนี้จะต้องตรวจสอบการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบไปจนถึงการติดตั้งระบบเสร็จสิ้น
- ทดสอบมาตรการรักษาความปลอดภัย และกำหนดขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินผลต่อเนื่อง
- ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและกำหนดมูลค่าความเสียหาย
- จัดทำ บำรุงรักษา และอัปเดตเอกสารเกี่ยวกับระบบความปลอดภัย
- ฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับขั้นตอนความปลอดภัย และการใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
- วางแผนงบประมาณและกำหนดเวลาสำหรับงานออกแบบและบำรุงรักษาความปลอดภัย
- ตรวจสอบคุณสมบัติของระบบความปลอดภัยและการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารสำหรับการดำเนินคดีหรือการเรียกร้องค่าชดเชย
- สัมภาษณ์พยานหรือผู้ต้องสงสัยเพื่อระบุตัวผู้กระทำผิดและประเมินความเสียหาย
ในยุคที่ความปลอดภัยเชื่อมโยงกับทุกด้านขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ทรัพย์สิน หรือทรัพยากรบุคคล Security Management Specialist ไม่ใช่แค่ตำแหน่งที่จะช่วยลดความเสี่ยง และภัยคุกคามความปลอดภัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรในระยะยาวอย่างยั่งยืน
ที่มา : World Economic Forum, My Next Move, Manatal