กล้อง Body Worn มีไว้ทำไม ?
จากกรณี 7 ตำรวจไล่จับรถยนต์ฝ่าฝืนหนีด่านตรวจ แต่กลับจับผิดคนผิดคันจนเป็นเรื่องเป็นราว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการพูดถึงหลักฐานจากกล้องวงจรปิด รวมถึงกล้องที่ติดตัวเจ้าหน้าที่อยู่
ทั้งนี้จากกรณีดังกล่าว เรามาดูกันว่า กล้องบันทึกภาพและเสียงชนิดติดบนตัวเจ้าหน้าที่ มีไว้เพื่อจุดประสงค์ใด
ถึงเวลาเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป้องกันการซ้อมทรมาน-อุ้มหายฯ
พ.ร.บ.อุ้มหาย หรือ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทำร้ายและการกระทำที่ทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ออกมาเพื่อป้องกันและปราบปรามการบีบบังคับ ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย และทำให้บุคคลสูญหาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วย เช่น ตำรวจ ทหาร ฯลฯ มีหน้าที่ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นสำคัญ
แน่นอนว่าเมื่อมีการออกกฎหมาย หรือออก พ.ร.บ. ย่อมต้องมีคนที่ไม่ทราบหรือไม่ปฏิบัติตาม นำมาซึ่งการฝ่าฝืนจนเกิดการละเมิดสิทธิของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การมีอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์อย่าง กล้องบันทึกภาพและเสียงชนิดติดบนตัวเจ้าหน้าที่ (Body Worn Camera) ก็คงเป็นประโยชน์อย่างมาก
กล้อง Body Worn คืออะไร
หากใครเคยดู หนัง หรือ ซีรีย์ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทั้งแนวสืบสวนสอบสวน และการให้ความช่วยเหลือ คงจะผ่านตามาบ้างกับกล้อง Body Worn ที่ติดอยู่กับเครื่องแบบของบรรดาเจ้าหน้าที่ ซึ่ง Body Worn Camera หรือ กล้อง Body Worn นี้ คืออุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพและเสียงขณะที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ โดยนอกจากลดโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ ยังเป็นหลักฐานปกป้องพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตด้วย
ทั้งนี้กล้องบันทึกภาพและเสียงชนิดติดบนตัวเจ้าหน้าที่ สามารถแบ่งตามลักษณะการติดตั้ง และองค์ประกอบ หรือ ฟีเจอร์ที่ตัวกล้องมี รวมไปถึงรูปแบบการใช้งาน โดยอาจติดบริเวณ หัว, หัวไหล่, แว่นตา, หน้าอก หรือ เข็มขัด ตามลักษณะหรือประเภทของกล้อง ดังนี้
- กล้อง Body Worn ทั่วไป
- กล้องกระดุม
- กล้องปากกา
- กล้องติดแว่น
- กล้องแบบระบบ Hybrid ซึ่งรวมคุณสมบัติของกล้องที่ติดตัวและกล้องแบบมือถือเข้าด้วยกัน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งานในสถานการณ์ที่หลากหลาย โดยปกติสามารถสวมใส่กับร่างกายได้ แต่ยังสามารถถอดออกมาใช้แบบมือถือได้เมื่อต้องการ
- กล้องแบบถอดออกได้ (Detachable Cameras) สามารถถอดออกจากที่ยึดบนร่างกายได้ง่าย เพื่อการใช้งานแบบมือถือ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถบันทึกภาพจากมุมมองที่หลากหลาย หรือในพื้นที่แคบที่ตำแหน่งติดตัวอาจไม่เหมาะสม
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อเนกประสงค์ (Multi-functional Devices) ที่เป็นฟังก์ชันเพิ่มเติมมากับกล้องแบบไฮบริดบางรุ่น เช่น การใช้งานเป็นไฟฉาย หรือแม้กระทั่งการเป็นอุปกรณ์สื่อสาร
ประโยชน์ของกล้อง Body Worn
1. เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เนื่องจากสามารถบันทึกภาพและเสียงในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างโปร่งใส ลดข้อครหาหรือข้อกล่าวหาเรื่องการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ
2. เป็นหลักฐานทางกฎหมาย เนื่องจากใช้เพื่อบันทึกกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างการจับกุมหรือควบคุมตัว ลดโอกาสเกิดการซ้อมทรมานหรือการปฏิบัติผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ตาม มาตรา 5 ใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทำร้ายและการกระทำที่ทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ระบุว่า ความผิดฐานกระทำทรมาน คือเจ้าหน้าที่รัฐคนใด ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทรมานอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ เพื่อวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
- เพื่อรีดข้อมูล เค้นคำรับสารภาพ
- ลงโทษเพราะเหตุเกิดจากการกระทำ หรือสงสัยว่าทำ
- เพื่อข่มขู่ หรือขู่เข็น
- การเลือกปฏิบัติ เช่น การซ้อม การช๊อตไฟฟ้า
ขณะที่ มาตรา 6 ระบุว่า ความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยเจ้าหน้าที่รัฐคนใด ลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีความเป็นมนุษย์ ที่ไม่ใช่การกระทำความผิดตามมาตรา 5 ถือว่ามีความผิดตามมาตรานี้ เช่น การพูดข่มขู่ให้หวาดกลัว ดูหมิ่นเหยียดหยาม การบังคับให้อดนอน การบังคับให้ใส่ปลอกคอสุนัข
3.สร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเป็นการแสดงถึงความตั้งใจของรัฐในการส่งเสริมความยุติธรรมและลดปัญหาการละเมิดสิทธิ รวมถึงเพื่อเสริมความไว้วางใจของประชาชนต่อเจ้าหน้าที่รัฐ
อย่างไรก็ตามแม้ พ.ร.บ.ดังกล่าวจะประกาศออกมาแล้ว แต่ปัจจุบันก็ยังมีเจ้าหน้าที่อีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์ เนื่องจากยังขาดงบประมาณสำหรับการจัดซื้อกล้อง หรือการจัดทำระบบ
คงจะดีหาก Command Center เชื่อมต่อระบบกล้องได้โดยตรง
และเนื่องจากปัจจุบันกล้อง Body Worn ทั่วไปยังไม่มีระบบที่เชื่อมต่อกับส่วนกลาง แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย การจะ Live Stream ส่งภาพจากกล้องไปยังส่วนกลางได้แบบเรียลไทม์ จึงอาจเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ
และหากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ และโซลูชันที่ตอบโจทย์ Security Pitch ขอเสนอ กล้อง BWC300 ผลิตภัณฑ์ตัวแรกในกลุ่ม Body-Worn Camera (BWC) ที่รองรับการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม OneFence สำหรับองค์กร หรือ หน่วยงาน รวมถึงแพลตฟอร์ม OneForce ที่ออกแบบขึ้นสำหรับหน่วยงานที่ดูแลความปลอดภัยสาธารณะของเมือง
คุณสมบัติของ กล้อง BWC300
- มีหน้าจอขนาด 2-inch LED (240×320)
- ใช้งานได้นาน 15 ชั่วโมง
- บันทึกวิดีโอ ความละเอียด 1080p ได้นานถึง 10 ชั่วโมง
- ความจุสูงสุด 64 GB
- ความละเอียดวิดีโอสูงสุด 1440p
- ความละเอียดภาพถ่ายสูงสุด 32 MP
- รองรับการเชื่อมต่อ USB และ WIFI
- Focus range : 0.3 – infinity
- 64x digital zoom
- Audible alarm reminder
- Vibration alarm reminder
- Motion detection
- Video watermark
- Password protection
ที่มา : secureredact
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”
Tel. : 061-462-6414, 02-103-6462
Line : @securitypitch
Email : [email protected]
บทความที่น่าสนใจ