ติดเกราะให้องค์กร ด้วยระบบ Zero Trust
ระบบความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กร ในการปกป้องข้อมูลภายในที่สำคัญ ไม่ให้หลุดออกไปจนเกิดความเสียหายต่อองค์กร ปัจจุบันระบบความปลอดภัยแบบ Zero Trust จึงนิยมถูกนำมาใช้สำหรับการสร้างกรอบความปลอดภัยในองค์กร
แล้ว Zero Trust คืออะไร?
เพื่อทำความเข้าใจสถาปัตยกรรม หรือ ระบบ Zero Trust ก่อนอื่นให้นึกถึงรูปแบบ การรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิม ซึ่งหลังจากที่มีบุคคลลงชื่อเข้าใช้ในองค์กรแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้ก็จะสามารถเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรทั้งหมดได้
เนื่องจากระบบความปลอดภัยแบบเก่าที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อองค์กรสูง เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลขององค์กรได้ทันทีแบบไม่มีขอบเขตการเข้าถึง ระบบหรือสถาปัตยกรรมแบบ Zero Trust จึงเข้ามาแก้ไขปัญหานี้
Zero Trust เป็นกรอบความปลอดภัยที่กำหนดให้ผู้ใช้ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ภายใน หรือ ภายนอกเครือข่ายขององค์กร ต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิก่อนได้รับอนุญาต และยังมีการตรวจสอบ สถานะความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะได้รับสิทธิเข้าถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลขององค์กร
Zero Trust ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าไม่มีขอบเขตเครือข่ายแบบเดิม หากเครือข่ายสามารถเป็นแบบภายในองค์กร บนระบบคลาวด์ เป็นแบบผสมผสาน หรือไฮบริด ที่มีทรัพยากรอยู่ทุกที่ รวมถึงมีพนักงานทำงานได้จากทุกที่ และป้องกันการโจมตีแบบแรนซัมแวร์ได้ในระดับหนึ่ง
หลักการของระบบ Zero Trust มีดังนี้
- ยืนยันความชัดแจ้ง
พิจารณาจุดข้อมูลทุกจุดก่อนรับรองความถูกต้อง การเข้าถึงของบุคคล รวมถึงข้อมูลประจำตัว ตำแหน่งที่ตั้ง และอุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการจัดประเภททรัพยากร และมีสิ่งผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่
- ใช้สิทธิ์การเข้าถึงระดับสูงเท่าที่จำเป็น
จำกัดจำนวนข้อมูลและระยะเวลาที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูล หรืออุปกรณ์บางอย่าง แทนที่จะให้สิทธิ์ในการเข้าถึงทรัพยากรของบริษัททั้งหมดอย่างไม่มีกำหนด
- ถือว่าทุกอย่างเป็นการละเมิด
แบ่งส่วนเครือข่ายเพื่อให้ระบบควบคุมความเสียหายไว้ หากมีบุคคลเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องใช้การเข้ารหัสตลอดกระบวนการ
ฟีเจอร์หลักของสถาปัตยกรรม Zero Trust จะมีตั้งแต่ระบบตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงข้อมูล หรือทรัพย์สินดิจิทัลทั้งหมดขององค์กร ด้วยการเข้ารหัสที่ครอบคลุมและการจัดการข้อมูลส่วนตัว
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับ Shadow IT (อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่อยู่นอกองค์กร) และอุปกรณ์ทั้งหมดที่พยายามเข้าถึงเครือข่ายขององค์กร โดยจะมีการตรวจสอบว่าผู้ใช้และอุปกรณ์ ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือไม่ และจำกัดการเข้าถึงหากไม่เป็นไปตามขอบเขต หรือข้อบังคับที่กำหนดไว้
การมีระบบ Zero Trust เปรียบเสมือนการติดเกราะให้กับองค์กร ช่วยให้ระบบความปลอดภัยขององค์กรแข็งแกร่งขึ้น เพราะในปัจจุบันองค์กรและธุรกิจจำเป็นต้องประเมินแนวทางการรักษาความปลอดภัยทั้งหมด เพื่อรับมือกับความท้าทายและภัยคุกคามทางไซเบอร์
ถึงเวลาแล้วที่องค์กรของคุณต้องเข้มงวดกับการดูแล คุ้มครองข้อมูลขององค์กร หากองค์กรของคุณกำลังมองหาโซลูชันที่จะช่วยเสริมเกราะความปลอดภัย Security Pitch เรายินดีให้คำปรึกษา วางแผน ออกแบบโซลูชันด้านความปลอดภัยของข้อมูล ให้องค์กรของคุณรับมือทุกภัยคุกคามได้อย่างครอบคลุม
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”
Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]