แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปัญหาที่หยั่งรากลึกในสังคม
ปัจจุบัน สายเรียกเข้าของหมายเลขโทรศัพท์แปลก ๆ เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่กังวลเสียจนไม่มีใครอยากจะรับสาย ส่วนหนึ่งก็เพราะสถิติและความเสียหายของปัญหา ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ เพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ และสังคม ไม่เพียงเท่านั้น ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ยังส่งผลถึงภาพลักษณ์ของประเทศด้วย
ทั้งนี้ ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่มาเริ่มทวีความรุนแรงกระทบเศรษฐกิจอย่างจริงจังในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 เพราะเมื่อผู้คนต้องกักตัว หรือเก็บตัวอยู่ภายในที่พักอาศัย เหล่ามิจฉาชีพก็มีโอกาสติดต่อกับเหยื่อได้มากขึ้น และเมื่อเหยื่อถูกข่มขู่ว่าหากไม่ไปติดต่อที่สำนักงานที่อยู่ต่างพื้นที่ภายในไม่กี่ชั่วโมง จะเกิดผลกระทบ บางรายกังวล จนตัดสินใจจำยอมทำตามที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์บอก นำไปสู่การถูกหลอกให้คลิกลิงก์เพื่อติดตั้งแอปดูดเงิน หรือโอนเงินไปยังบัญชีม้า โดยจากสถิติล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า ในระยะเวลาเพียง 7 เดือน (ธันวาคม 2565 – มกราคม 2566) มีมูลค่าที่เกิดจากแอปฯ ดูดเงินสูงถึง 1,152 ล้านบาท และเพียงแค่ในเดือนมิถุนายน 2566 ได้มีการอายัติบัญชีม้าไปแล้วกว่า 9,000 บัญชี และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
แม้ว่ามูลค่าความเสียหายจะไม่ถึง 0.01% ของ GDP ประเทศไทย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็ทำให้เห็นช่องโหว่หลายอย่างที่ยังไม่ได้รับการจัดการ โดยเฉพาะการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นต้นสายปลายเหตุของปัญหานี้ เพราะเหล่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ คงไม่สามารถติดต่อไปหาเหยื่อได้หากไม่ได้รับข้อมูลมาจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ซึ่งดูเหมือนว่าปัญหานี้ยังคงไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะยังมีข้อจำกัดในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการที่หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังไม่มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กร หรือไม่มีระบบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่รัดกุมมากพอ ทำให้ยังเกิดปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลอยู่อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเองก็ไม่ได้นิ่งเฉย เพราะสำนักคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็ได้ออกกฎหมายและประกาศต่าง ๆ กระตุ้นให้องค์กร หรือหน่วยงานรัฐจัดทำ PDPA แล้ว ขณะที่ กสทช. ที่มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลธุรกิจโทรคมนาคมก็ได้ออกประกาศมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม เพื่อป้องกันการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ ปกป้องเหยื่อในกรณีที่เกิดข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล และกำหนดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องช่วยคัดกรองเบอร์ของมิจฉาชีพ ซึ่งก็อาจช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกลวงได้
ล่าสุด หลังมีการแต่งตั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม คนใหม่ก็ได้มีการเริ่มคิกออฟนโยบายเกี่ยวกับการปราบปรามกลุ่มมิจฉาชีพออนไลน์ และแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ให้สอดคล้องกับ เนื่องจากพระราชกำหนดว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่เพิ่งประกาศใช้ ให้อำนาจธนาคาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการกับขั้นตอนกลโกงออนไลน์ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้มากขึ้น
ขณะเดียวกันก็จะมีการสนับสนุนงาน และนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ประเทศไทยมีเกราะป้องกันด้านความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้มแข็ง ไม่ให้คนต้องตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และหลอกลวงออนไลน์อีกต่อไป
Security Pitch เราเป็นองค์กรที่มองเห็นความปลอดภัยของคนในสังคมเป็นที่ตั้ง โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูล และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เราจึงพัฒนาแพลตฟอร์ม OneFence ซึ่งมีโซลูชันด้านความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ ไม่ว่าจะเป็น Privacy Management เข้ามาช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการ และปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ , Cybersecurity ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร และ Physical Security ที่ช่วยบริหารจัดการความปลอดภัยทางกายภาพ โดยทั้ง 3 โมดูลสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น เพื่อระบบนิเวศด้านความปลอดภัยที่ไร้รอยต่ออย่างแท้จริง
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneFence”
Line : @securitypitch
Email : [email protected]
บทความที่น่าสนใจ